Lifestyle

รวบตึงประเด็นศัพท์เกี่ยวกับรูปแบบรถยุคใหม่ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

เมื่ออุตสาหกรรมรถยนต์มีการพัฒนาไม่หยุดนิ่ง มีการพัฒนารถยนต์แบบใหม่ ๆ ออกมาเอาใจตลาดอยู่เรื่อย ๆ ทำให้วันนี้มีรถยนต์สไตล์ใหม่หรือถูกจัดกลุ่มว่าเป็นประเภทใหม่อยู่เสมอ และรถประเภทใหม่เหล่านี้ก็มีดีไซน์ที่ดีขึ้น มีเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการขับขี่ให้เรามากขึ้นด้วย เหมาะอย่างยิ่งที่จะทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไว้เคียงคู่ แต่ปัญหาก็คือ ยิ่งแบ่งประเภทเยอะก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกสับสน

คิดว่าถ้าคุณเป็นคนที่สนใจเรื่องรถยนต์น่าจะเคยได้ยินประโยคแนะนำว่า นี่เป็นรถแบบ CKD ส่วนคันนี้เป็นรถแบบ CBU อะไรแบบนี้กันมาบ้างแน่นอน ตัวย่อเหล่านี้เป็นประเภทรถในยุคใหม่ แต่ว่าเป็นรถแบบไหนหรือหมายถึงอะไรกันบ้าง ครั้งนี้เราได้มัดรวมประเด็นศัพท์เกี่ยวกับรูปแบบรถยุคใหม่มาอธิบายให้ทุกคนได้ทราบ มาติดตามกันเลย

เข้าใจเหตุผลของการแบ่งประเภทย่อยรถยนต์

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจในเรื่องการแบ่งประเภทย่อยของรถยนต์กันก่อน เพราะเชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามว่า ทำไมจะต้องมีการแบ่งประเภทหรือแยกรูปแบบย่อยของรถออกไปด้วย ในเมื่อรถบางแบบโดยสภาพแล้วก็เหมือน ๆ กัน จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันได้ จะแยกไปเพื่ออะไร แล้วแยกแบบนี้จะส่งผลต่อเรื่องของความคุ้มครองในการทำประกันอะไรบ้างหรือเปล่า เพราะบางคนตั้งใจจะซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 บางทีก็ไม่กล้ากลัวว่าประเภทรถของตนจะไม่ตรงเงื่อนไขอะไรบางประการ จึงขอสรุปดังนี้

  • รถยนต์ที่จำหน่ายในไทยเรา จะแบ่งกว้าง ๆ ออกเป็น 2 แบบ คือ รถที่ผลิตหรือประกอบในประเทศ กับรถที่นำเข้าทั้งคันจากต่างประเทศ
  • รถทั้ง 2 รูปแบบนี้เสียภาษีในอัตราที่ต่างกัน
  • รถประเภทนำเข้าทั้งคันจะเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่า นั่นจึงทำให้ต้องมีการแบ่งประเภทย่อยโดยใช้ศัพท์บัญญัติประเภทใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการคัดแยกในการคิดอัตราภาษี
  • โดยภาพรวมแล้วรถประเภทประกอบเองในประเทศไม่ได้มีผลต่ออัตราการชำระเบี้ยประกันภัยรถ แต่ถ้าเป็นรถประเภทนำเข้า ซึ่งบางบริษัทประกันจะไม่รับทำ หรือหากรับทำก็อาจจะมีการปรับเบี้ยความคุ้มครองเพิ่มเป็นกรณี ๆ ไป ขึ้นอยู่กับมูลค่าและชิ้นส่วนของรถด้วยนั่นเอง

รถประเภท CKD

ศัพท์แรกเกี่ยวกับรถยุคใหม่ที่ควรรู้จักก็คือ CKD ซึ่งย่อมาจาก Completely Knocked Down รถประเภทนี้จะเป็นรถที่มีการประกอบภายในไทย โดยชิ้นส่วนที่นำมาประกอบรถนั้นจะเป็นชิ้นส่วนที่ผลิตภายในไทย 40% อีก 60% จะเป็นชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ การประกอบรถแบบนี้จึงมีการคิดอัตราภาษีในรูปแบบ ราคาขาย+อัตราภาษีสรรพสามิต+อัตราภาษีเพิ่มของกระทรวงมหาดไทย

รถประเภท SKD

ศัพท์คำที่สองคือคำว่า SKD ย่อมาจากคำว่า Semi Knocked Down เป็นรถที่มีลักษณะการประกอบอีกแบบหนึ่ง โดยรถแบบนี้จะมีการประกอบชิ้นส่วนบางชุดมาจากต่างประเทศแล้ว หลังจากนั้นก็จะนำเข้าชิ้นส่วนเหล่านี้เข้ามาที่ไทย โรงงานที่ไทยก็จะทำการประกอบส่วนที่เหลือให้กลายเป็นรถยนต์เต็มคันที่สมบูรณ์แบบ ดูแล้วก็จะคล้าย ๆ กับแบบแรก แตกต่างกันที่กระบวนการประกอบนำเข้า รถแบบนี้จึงใช้อัตราภาษีในแบบแรกเช่นกัน

รถประเภท CBU

ศัพท์สุดท้ายก็คือ CBU อันย่อมาจากคำว่า Complete Built Up ก็คือรถยนต์ที่นำเข้าทั้งคัน ซึ่งรถแบบนี้จะมีอัตราภาษีที่สูงมาก มีการบวกภาษีหลายต่อ ตั้งแต่ภาษีอากรนำเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีกระทรวงมหาดไทย โดยจะต้องดูขนาดของตัวเครื่องยนต์ด้วย ยิ่งเครื่องยนต์ใหญ่ภาษีก็จะยิ่งแพง

ตอนนี้ทุกคนคงได้รู้ศัพท์ใหม่ ๆ ของการแบ่งประเภทรถยนต์ตามรูปแบบการประกอบ นำเข้าหรือรูปแบบการเสียภาษีกันแล้ว คงทำให้หายสับสนกันได้บ้าง และไม่ว่าคุณจะเลือกรถยนต์แบบไหน สิ่งที่ควรจะมีไว้เคียงข้างรถก็คือประกันภัยรถ ยิ่งเป็นรถนำเข้าประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ก็จะเหมาะสมที่สุด หากต้องการเช็กเบี้ยประกันก่อนตัดสินใจ สามารถเช็กได้ที่ EasyCompare เลยแล้วคุณจะพบข้อมูลเรื่องประกันรถที่ทำให้คุณตัดสินใจง่ายขึ้น